เมนู

เราเข้าบ้าง ออกบ้าง ซึ่งอนุบุพพวิหารสมาบัติ 9 ประการนี้ โดย
อนุโลมและปฏิโลมอย่างนี้แล้ว เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้
แล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
ก็แหละญาณทัสนะเกิดขึ้นแก่เราว่า เจโตวิมุติของเราไม่กำเริบ
ชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.
จบ ตปุสฺสสูตรที่ 10
จบ มหาวรรคที่ 4

อรรถกถาตปุสสสูตรที่ 10


ตปุสสสูตรที่ 10

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า มลฺลเกสุ ได้แก่ ในแคว้นของมัลลกษัตริย์. พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงรู้ จักมีการสนทนากันระหว่างตปุสสคฤหบดี
กับพระอานนท์ ผู้ตั้งอยู่ในที่นี้ เราจักแสดงธรรมปริยายมากมีเรื่องนั้น
เป็นเหตุ จึงตรัสพระดำรัสนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงอยู่ ณ ที่นี้
ดูก่อนเถิดดังนี้. บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า ได้ยินดี ตปุสสคฤหบดี
นั้นบริโภคอาหารเช้าแล้วคิดว่า เราจักไปเฝ้าพระทศพล ดังนี้
จึงออกไปเห็นพระเถระแต่ไกล จึงเข้าไปหาพระอานนท์.
บทว่า ปปาโต วิย ขายติ ยทิทํ เนกฺขมฺมํ ความว่า เนกขัมมะ
กล่าวคือ บรรพชานี้ปรากฏด้วยดีคือ ปรากฏชัดแก่เราเหมือน
เหวใหญ่. บทว่า เนกฺขมฺเม จิตฺตํ ปกฺขนฺทติ ความว่า จิตย่อมแล่น
ไปในบรรพชาด้วยทำให้เป็น คือจิตทำบรรพชานั้นให้เป็น

อารมณ์ ย่อมเลื่อมใส ย่อมดำรงมั่นในบรรพชานั้น ย่อมพ้นจาก
ธรรมอันเป็นข้าศึก. บทว่า เอตํ สนฺตนฺติ ปสฺสโต ได้แก่ ของภิกษุ
ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า เนกขัมมะนี้ สงบ คือ ปราศจากความกระวน
กระวาย และความเร่าร้อน. บทว่า พหุนา ชเนน วิสภาโค ความว่า
เนกขัมมะนั้น ของภิกษุทั้งหลายเป็นวิสภาค คือ ไม่เหมือนกับ
มหาชน.
บทว่า กถาปาภตํ คือเหตุที่พูดจากัน. บทว่า ตสฺส มยฺหํ
อานนฺท เนกฺขมฺเม จิตฺตํ น ปกฺขนฺทติ
ความว่า จิตของเราแม้ตรึก
อยู่อย่างนี้นั้น ก็ยังไม่หยั่งลงในบรรพชา บทว่า เอตํ สนฺตนฺติ
ปสฺสโต
ความว่า แม้เห็นอยู่ว่า เนกขัมมะนี้สงบด้วยการตรึกอย่าง
รอบคอบว่า เนกขัมมะดีแน่ดังนี้. บทว่า อนาเสวิโต ได้แก่ ไม่เสพ
คือไม่ถูกต้องไม่ทำให้แจ้ง. บทว่า อธิคมฺม ได้แก่ ถึงคือบรรลุ
ทำให้แจ้ง. บทว่า ตเมเสเวยฺยํ ได้แก่ พึงเสพ คือพึงพบอานิสงส์นั้น
บทว่า ยมฺเม ได้แก่ ของเราด้วยเหตุใด. บทว่า อธิคมฺม แปลว่า
บรรลุแล้ว. บทว่า สฺวาสฺส เม โหติ อาพาโธ ได้แก่ ชื่อว่าอาพาธ
เพราะอรรถว่า เบียดเบียนเรา. บทว่า อวิตกฺเก จิตฺตตํ น ปกฺขนฺทติ
ความว่า จิตย่อมไม่แล่นไปในทุติยฌานอันไม่มีวิตกและวิจารด้วย
สามารถอารมณ์. บทว่า วิตกฺเกสุ ได้แก่ วิตกและวิจาร. คำที่เหลือ
ในบททั้งปวงมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
จบ อรรถกถาตปุสสสูตรที่ 10
จบ มหาวรรควรรณนาที่ 4

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ปฐมวิหารสูตร 2. ทุติยวิหารสูตร 3. นิพพานสูตร
4. คาวีสูตร 5. ฌานสูตร 6. อานันทสูตร 7. พราหมณสูตร
8. เทวสูตร 9. นาคสูตร 10. ตปุสสสูตร และอรรถกถา
จบ มหาวรรคที่ 4